วันพุธที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2552

หมูป่า

ลักษณะของหมูป่า
หมูป่า นั้นว่ากันว่ามีพื้นเพหรือถิ่นกำเนิดอยู่ในทวีปเอเชียนี่เองในทวีปอื่นอาจมีบ้างก็น้อย และโดยเฉพาะในเอเชียนั้นถือได้ว่าเป็นแหล่งหมูป่าแหล่งใหญ่ที่สุด หมูป่าในประเทศไทยมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Sus scrofa ที่พบก็มีอยู่ 2 พันธุ์ คือ พันธุ์หน้ายาว และพันธุ์หน้าสั้น แต่ก็จะรู้จักลักษณะของแต่ละพันธุ์ เราควรมาทำความรู้จักลักษณะโดยทั่วไปกันเสียก่อน
ลักษณะโดยทั่วไปของหมูป่า คือ มีขนหยาบแข็งสีน้ำตาลเข็มหรือดำ รูปร่างไม่อ้วนเทอะทะเหมือนหมูบ้าน กล่าวคือ มีรูปร่างผอมและสูงมาก ในตัวที่โตๆ อาจสูงถึงเอวคนหรือสูงกว่านี้ก็มี หัวยาวและแหลมกว่าสุกรบ้าน ขาเล็กและเรียวยาว กีบเท้าเล็กแต่แข็งแรงมาก หูเล็ก ตาโตสีดำ คอยาวและสั้น ตาลีบบาง ท้ายหักมาก มีขนแปรงสีดำเข็มและสีดอกเลายาวประมาณ 6 นิ้ว ขึ้นตั้งแต่ท้ายทอยตลอดไปตามแนวสันหลังจนถึงสะโพก ขนส่วนนี้จะตั้งขึ้นได้ โดยเฉพาะในเวลาที่หมูตกใจกลัว หรือเตรียมพร้อมที่จะสู้ ส่วนหางไม่มีขน มีความยาวจนถึงข้อขาหลัง หนังหมูป่าจะหนามากโดยเฉพาะอย่างยิ่งหนังที่บริเวณไหล่ อาจจะหนาประมาณ 5 ซม. หรือมากกว่าก็มี จมูกอ่อนแต่แข็งแรงมาก เนื่องจากหมูป่าจะใช้ปลายจมูกขุดคุ้ยดิน หรือจอมปลวกเพื่อหาอาหาร หมูป่าจะมีเขี้ยว 4 เขี้ยว ยาวและแหลมมาก ในตัวผู้ เขี้ยวนี้จะใช้เป็นอาวุธประจำตัวที่สำคัญมากในการป้องกันตัว เขี้ยวทั้ง 4 จะโค้งงอขึ้นด้านบน ความยาวของเขี้ยววัดจากโคนถึงปลายยาวประมาณ 4 - 5 นิ้ว และตัวเมียจะมีเต้านมแถวละ 5 เต้า
ลูกหมูป่าเมื่อยังเล็ก สีขนที่ลำตัวลูกหมูป่าจะมีลายเป็นแถบเล็กๆ สีเหลืองสลับขาวพาดตามความยาวของลำตัวคล้ายกับลายแตงไทย อันจะเป็นการช่วยพรางตัวจากศัตรูได้อย่างดีเยี่ยม เมื่ออายุได้ 5 - 6 เดือน ลายดังกล่าวจึงค่อยๆ เลือนหายไป จนมีสีผิวและขนเหมือนกับพ่อแม่ของมัน
(ได้มีผู้ที่ทดลองผสมข้ามพันธุ์ระหว่างหมูป่าหน้ายาวเพศผู้กับหมูป่าพันธุ์หน้าสั้นเพศเมีย ลูกที่ผสมได้ 6 ตัว พบว่าสีลายแตงไทย 3 ตัว และสีดำมีทางลายสีน้ำตาลออกน้อยมากพอมองเห็นจางๆ 3 ตัว) ฝูงหมูป่าในช่วงฤดูผสมพันธุ์จะพบว่ามีหมูป่าที่มีรูปร่างสูงใหญ่กว่าหมูป่าตัวอื่นๆ ในฝูงอยู่ 2 - 3 ตัว และมีอยู่ตัวหนึ่งที่มีกิริยาท่าทางองอาจ วางมาดยืนเด่นอยู่กลางฝูงนั่นก็คือ พญาจ่าฝูง
หมูป่าเป็นสัตว์ที่กินอาหารได้หลายอย่าง ฉะนั้นจึงมีระบบฟันที่พัฒนาไปมากเหมือนสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมโดยทั่วไปกล่าวคือ มีระบบฟันเป็นแบบ : 3/4 1/2 1/4 3/4 x2 =44 ฟันหน้าด้านล่างจะยาว แคบและยื่นตรงออกไปข้างหน้า จะทำหน้าที่คล้ายพลั่ว โดยเฉพาะในเวลาที่หาอาหาร โดยการขุดคุ้ยตามพื้นดินหรือตามดินโป่งเป็นต้น ส่วนเขี้ยวของหมูป่าไม่มีราก จะพัฒนาไปมากโดยเฉพาะในตัวผู้ ขนาดของฟันกัดต่อมาเขี้ยวจะค่อยๆ เพิ่มขนาดจากเล็กมาใหญ่ ส่วนฟันกรามพบว่าซี่สุดท้ายจะมีขนาดใหญ่มากคือ มีขนาดเท่ากับฟันกรามซี่ที่ 1 และ 2 รวมกัน ส่วนของกะโหลกศีรษะมีความยาว และลาดเอียง (Slope) มาก โดยที่ส่วนที่เป็นปากและฟันมีความยาวมากคือประมาณ 75 - 80 % ของกะโหลกศีรษะ
สภาพความเป็นอยู่ในธรรมชาติของหมูป่า โดยธรรมชาติแล้ว หมูป่าชอบอาศัยอยู่รวมกันเป็นฝูง ขนาดฝูงก็มีตั้งแต่ 5-6 ตัวจนถึงฝูงใหญ่ขนาด 50 ตัวก็มี แต่ละฝูงประกอบด้วยหลายวัย ทั้งเพศผู้และเพศเมีย ในตัวผู้ขนาดใหญ่จะรวมฝูงเฉพาะช่วงฤดูกาลผสมพันธุ์ แต่ช่วงปกติจะแยกตัวออกจากฝูงและอาศัยอยู่เพียงโดดเดี่ยว ที่เรียกกันว่า หมูโทน ทั้งนี้อาจเป็นเพราะหมูโทนมีรางกายกำยำใหญ่โต มีเขี้ยวที่ยาวและแหลมคมสามารถที่จะรักษาตัวเองได้ หรืออาจเป็นเพราะว่ามันดุร้ายจนหมูป่าที่มีขนาดเล็กกว่าไม่อยากอยู่ด้วยจึงพากันแยกฝูงหนีไปเสีย
หมูป่ามีประสาทรับกลิ่นที่ไวมาก แต่มีประสาทตาไม่ค่อยดี รวมทั้งประสาทหูไม่ดีด้วย (นอกจากบางครั้งที่มันเกิดสงสัยเมื่อได้กลิ่นประสาททั้งตาและหูจะว่องไวผิดปกติ) จมูกจึงเป็นเสมือนเครื่องรับประกันความปลอดภัยโดยธรรมชาติ หมูป่าเวลาออกหากินจะมีเสียงเอะอะและดังมาก ซึ่งเป็นเสียงไล่กัดกัน กัดกินอาหาร แย่งกันกินอาหาร เกลือกกลิ้งเล่นกันและเสียงนี้สามารถได้ยินในระยะไกลๆ อย่างไรก็ตามถ้าหากมันเกิดความสงสัยหรือระแวงเหตุร้ายขึ้นมา หมูป่าจะกลายเป็นสัตว์ที่เงียบที่สุดได้เหมือนกัน คือทุกตัวจะยืนนิ่งและเงียบกริบ ราวกับว่าเป็นสิ่งไม่มีชีวิต ครั้นแน่ใจว่าจะมีภัยอันตรายเกิดขึ้นกับมันจะพากันออกวิ่งหนีพอเข้าป่าได้เรียบร้อยแล้วพวกมันจะยืนนิ่งเงียบกริบอีกครั้ง เพื่อพิสูจน์ให้แน่ใจอีกครั้งว่าปลอดภัยแล้วหรือยัง
ว่ากันว่ากันว่าหมูป่าวิ่งได้เร็วพอ ๆ กับเก้งหรือม้า ไม่กลัวน้ำ ว่ายน้ำเก่ง และชอบเล่นโคลนตมมาก ศัตรูที่สำคัญก็คือ เสือ หมาป่าและหมาไน หมูป่าจัดได้ว่าเป็นสัตว์ที่มีความปราดเปรียวว่องไวมาก มีสันดานลุกลี้ลุกลน ชอบย่ำเท้าหรือตะกุยดินเล่น พรานจึงสังเกตจากรอยเท้าที่มันย่ำตะกุยเพื่อตามล่ามัน ปกติหมูป่าจะเป็นสัตว์ที่ไม่ค่อยดุร้ายเมื่อเห็นคนจะวิ่งหนี แต่ถ้าจนตรอกหรือได้รับบาดเจ็บ อาจกับดุร้ายและทำร้ายคนหรือศัตรูของมันได้เหมือนกัน
หมูป่าเป็นสัตว์ประเภทกินอาหารได้ทั้งพืชและสัตว์ (Ommivorous) ซึ่งอาหารของหมูป่าก็มีตั้งแต่พวก ผักต่าง ๆ เผือก มัน เห็ด หน่อไม้ ข้าวโพด สับปะรด ถั่วลิสงและหญ้าอ่อนๆ ส่วนสัตว์จำพวกปลวก งู และหนู เวลาเจอก็กินเหมือนกัน หมูป่าจะมีนิสัยการกินอาหารแบบตะกละและแย่งกันกิน การหากินก็จะออกหากินในตอนเช้าตรู่เป็นส่วนใหญ่ หากถูกรบกวนมาก ๆ ก็จะออกหากินในตอนกลางคืนเช่นกัน
หมูป่าเมื่อเป็นสัดและผสมพันธุ์เรียบร้อย ขนาดตั้งท้องอาจอยู่รวมกับฝูงปกติจนกระทั้งใกล้คลอดจึงจะแยกออกจากฝูง เพื่อเตรียมทำรังสำหรับคลอดลูก ส่วนมากจะทำรังด้วยพวกหญ้าและเศษไม้เศษพืช เท่าที่หาได้มากองสุมกันจนมีความสูงประมาณ 1 เมตรกว่าๆ โดยกองบนเนินดิน แม่หมูจะคลานเข้าไปและขุดยกเป็นโพรงแล้วคลอดในโพรงนี้ เลี้ยงลูกประมาณ 4 เดือนจนลูกโต และแข็งแรง จึงเข้ารวมฝูงใหญ่ และหากินกันตามปกติในลักษณะเช่นเดิม

หมูบ้าน

ข้อแตกต่างระหว่างหมูป่ากับหมูบ้าน

ข้อแตกต่างระหว่างหมูป่ากับหมูบ้าน จะเห็นลักษณะที่แตกต่างอย่างเห็นได้ชัด คือ
ขน ขนของหมูป่าแต่ละเส้นจะยาวและหยาบมาก มีรูขุมขนที่หนังจะรวมกันเป็นกระจุก ๆ ละ 3 รู ๆ ละ 1 เส้นขณะที่รูขุมขนของหมูบ้านจะกระจายไปทั่วตัวไม่รวมเป็นกระจุก นอกจากนี้หมูป่าจะมีขนแผงสีดำเข็ม ยาวประมาณ 6 นิ้วขึ้นไป ตั้งแต่ท้ายทอยตลอดไปตามแนวสันหลังจนถึงตะโพก ขนแผงนี้จะตั้งลุกชันเวลาได้ยินเสียงผิดปรกติหรือได้กลิ่นศัตรู แต่หมูบ้านไม่มีขนแผง
ใบหน้า ใบหน้าของหมูป่าจะมีลักษณะหน้าเสี้ยม ปากแหลมยาว หูเล็กตั้งแข้งแนบศีรษะ ตาดุพอง และที่แก้มของหมูป่าจะมีแนวขนสีขาวพาดผ่านคร่อมสันจมูก ส่วนหมูบ้านนั้นกลับหน้าสั้น ปากสั้น หูใหญ่ ตาไม่ดุ และไม่พอง ถ้าอ้วนมากตาจะหยี ส่วนที่แก้มก็ไม่มีแนวขนสีขาว
ส่วนไหล่หน้า หรือที่เรียกว่า ผานของหมูป่าจะสูงกว่าขาหลังทำให้รูปร่างของหมูป่าไหล่สูงท้ายต่ำ และที่ไหล่สองข้างเหนือขาหน้าทั้งซ้ายและขวา จะมีเกาะหรือผื่นไขมันนูนออกมาเป็นไตแข็ง สำหรับความหนาของเกาะหรือแผ่นไขมัน จะเพิ่มตามอายุคือถ้าหมูป่ามีอายุ 3 ปีเกาะจะหนาประมาณ 3 ซม. ถ้าอายุ 5 ปี เกาะจะหนาประมาณ 5 ซม. ส่วนหมูบ้านนั้นส่วนไหล่หนาหรือผานนั้นไม่แตกต่างจากขาหลังมาก และไม่มีเกาะหรือแผ่นไขมัน
ขา ขาของหมูป่าจะเล็กเรียว คล้ายขาเก้ง กีบเท้าเล็กดำ ปลายกีบหนา 2 กีบแหลมเล็ก กีบลอยสูงจากพื้นมาก แต่ของหมูบ้านขาอ้วนกลมค่อนข้างสั้น กีบเท้าใหญ่ ปลายกีบหนา 2 กีบใหญ่ กีบลอยสูงจากพื้นไม่มาก
เขี้ยว เป็นส่วนที่เด่นที่สุดของหมูป่าโดยเฉพาะในตัวผู้เขี้ยวนี้จะงอกยาวออกมานอกปากให้เห็นเมื่อมีอายุ 4 - 5 ปี ในธรรมชาติเขี้ยวนี้จะใช้เป็นอาวุธป้องกันตัว ส่วนหมูบ้านจะไม่มีเขี้ยว
ส่วนอื่น เช่น ท้องของหมูป่าจะเป็นท้องติ้ว คือท้องไม่ห้อย หางเล็กเรียว และสั้น ส่วนหมูบ้านนั้นท้องไม่ติ้วหรือท้องกลับห้อย หางยาว อ้วนกลม และที่พิเศษอีกอย่างหนึ่งก็คือ หมูป่าจะมีประสาทหูไวมาก มีภูมิต้านทานโรคสูง โรคน้อย หมูบ้านมีโรคมาก
การเป็นสัด การคลอดลูก และการเลี้ยงดู ลักษณะที่แตกต่างกันอย่างชัดเจนของหมูป่าและหมูบ้าน คือเวลาเป็นสัดหมูป่าจะดุกว่าธรรมดา ถ้าอยู่กับดินจะขุดคุ้ยดินจนเป็นหลุมลึกและกว้างเกือบเท่าตัว ออกลูกเองโดยไม่ต้องมีคนคอยช่วยเหลือ ลูกหมูที่คลอดใหม่จะมีทางลายน้ำตาลคล้ายลายแตงไทยหรือปลาชะโด เมื่อลูกหมูอายุ 4 เดือนขึ้นไป ลายนี้จะจางหายไปเอง แม่หมูมีเต้านม 10 เต้า เลี้ยงลูกเก่งกว่าหมูบ้าน ไม่นอนทับลูก ยิ่งแก่ยิ่งลูกดก หมูสาวจะให้ลูก 4 - 6 ตัว แต่หมูอายุ 4 ปี จะให้ลูก 10 - 11 ตัว ส่วนหมูบ้านเวลาเป็นสัดหรือออกลูกจะไม่ดุ ถ้าพื้นคอกเป็นดินก่อนคลอดจะคุ้ยดินเช่นกัน แต่หลุมไม่ลึกและกว้างมากนัก บางตัวออกลูกยากต้องมีคนคอยช่วยเหลือ เลี้ยงลูกไม่เก่ง ชอบนอนทับลูก มีเต้านมประมาณ 8 - 12 - 14 - 16 เต้า ยิ่งแก่ยิ่งมีลูกน้อย เพราะนมไม่พอ อย่างไรก็ตามในแง่อุ้มท้องทั้งหมูป่าและหมูบ้านนั้นใช้เวลาใกล้เคียงกันคือ 114 วัน
ลักษณะเนื้อและคุณภาพเนื้อ ถือเป็นเรื่องที่สำคัญในความแตกต่างกันที่สุดของหมูป่ากับหมูบ้าน " เนื้อ " หมูป่านั้นเป็นเนื้อที่ไม่มีมันคั่นกลางระหว่างเนื้อกับหนัง คือเนื้อกับหนังจะอยู่ติดกันและเนื้อแดงของหมูป่าจะแข้งกว่าเนื้อหมูบ้าน เพราะกินน้ำน้อยกว่า ส่วนเนื้อของหมูบ้านจะมีมันคั่นกลางระหว่างเนื้อกับหนังคือ เป็นเนื้อสามชั้น เนื้อนิ่มและแฉะมาก เพราะหมูบ้านกินน้ำมาก

หมูภูพาน

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงมีพระราชดำรัสให้ไว้เมื่อครั้งเสด็จฯไปทรงตรวจเยี่ยม....ศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพาน อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดสกลนคร ว่า...
“หมูที่นำมาส่งเสริมต้องเป็นหมูที่เลี้ยงง่าย กินง่ายใช้อาหารตามธรรมชาติ ที่มีต้นทุนไม่สูงนัก”
เกษตรกรในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่ได้ รับการสนับสนุนลูกพันธุ์จากศูนย์การศึกษาพัฒนาภูพานฯ จึงมีความต้องการสุกรที่มีคุณสมบัติสอดคล้องกับแนวพระราชดำรัสข้างต้น... ซึ่งทางศูนย์ก็จัดให้...
น.สพ.วิศุทธิ์ เอื้อกิ่งเพชร หัวหน้างานศึกษาและพัฒนาด้านปศุสัตว์ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพาน อันเนื่องมาจากพระราชดำริ บอกว่า...ในอดีตศูนย์ได้ส่งเสริมให้ เลี้ยงเฉพาะ หมูสายพันธุ์เหมยซาน เท่านั้น เนื่องจากเลี้ยงง่าย กินง่าย อยู่ง่าย ไม่ต้องมีการจัดการอะไรเป็นพิเศษและใช้ระยะเวลาเลี้ยงแค่ 1-2 เดือน ก็สามารถขายสร้างรายได้ให้กับครอบครัวผู้เลี้ยง...แถมให้ลูกดกครอกละ 18 ถึง 20 ตัว
แต่หมูเหมยซานมีข้อด้อยอยู่ตรงที่เวลาเลี้ยงให้โตเต็มที่จะมีไขมันมากและปริมาณเนื้อน้อย อีกทั้งใบหูใหญ่ เมื่อนำไปทำหมูย่างหรือหมูหันแล้ว.... ไฟจะไหม้ใบหูก่อนส่วนอื่นๆไม่เป็นที่นิยมสำหรับผู้บริโภค
จุดบกพร่องเหล่านี้ ทีมงานจึงได้ศึกษาค้นคว้าวิจัยและพัฒนา ให้ได้พันธุ์ตรงตามความต้องการของผู้เลี้ยง คือ...เลี้ยงง่าย โตเร็ว ปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อม ทนทานต่อโรค ให้ลูกดก เลี้ยงลูกเก่ง ตัวกะทัดรัด ใบหูไม่ใหญ่จนเกินไป...เมื่อนำไปขุนให้เนื้อแดงมากกว่าไขมัน
เริ่มด้วยการคัดเลือกคุณสมบัติสุกรจาก 3 สายพันธุ์มาเป็นพ่อแม่พันธุ์ ประกอบด้วย เหมยซาน ที่มีลักษณะเด่นคือ ให้ลูกดก เลี้ยงลูกเก่ง ปรับตัวเข้ากับสภาพการเลี้ยงได้ดีกับ พันธุ์พื้นเมืองสกลนคร (หมูกี้) เป็นหมูขนาดลำตัวกะทัดรัด ทนต่อโรค มีใบหูเล็กและ ดูร็อคเจอร์ซี่ มีลักษณะเด่นที่ลำตัวยาว ให้ปริมาณเนื้อแดงมากไขมันต่ำ เมื่อวางแผนการผลิตโดยการนำหมูกี้พันธุ์พื้นเมืองผสมกับเหมยซาน ได้ลูกเป็นรุ่น F1 แต่ยังมีไขมันสูง จึงเอาดูร็อคเจอร์ซี่ที่มีสีน้ำตาลแดงใส่เข้าไป จากนั้นก็ออกมาเป็นลูกรุ่น F2 มีสีน้ำตาลดำเมื่อคำนวณสายพันธุ์ กลายเป็น ดูร็อคเจอร์ซี่ 50% หมูกี้ 25% และ เหมยซาน 25% ได้ทดลองขุนผลปรากฏออกมาว่า ได้เปอร์เซ็นต์ซากดีกว่าหมูเหมยซานถึง 100%...แต่ต้นทุนในการเลี้ยงกับราคาขายเทียบกันแล้วไม่มีกำไร จึงไม่ เหมาะสมที่จะนำมาใช้ในเชิงพาณิชย์หรือประกอบเป็นอาชีพ
จึงได้นำสายพันธุ์ F2 มาปรับ ปรุงให้ทุกสายเลือดสูงขึ้นทั้ง 3 สายพันธุ์ กลายเป็นรุ่น F3 ในรุ่นนี้ สายเลือดดูร็อคเจอร์ซี่สูงประมาณ 62.5% ทุกอย่างเข้าล็อกหมด เช่น ได้ลูกดกถึง 17 ตัว ใบหูเล็ก ลำตัวสันทัด ตัวยาว หลังยาว เนื้อสันในและสันนอกก็ใช้ได้หมด แต่ ปรากฏปัญหาตรงที่เมื่อนำไปขุน จะมีผิวหนังสีดำทำให้พ่อค้าไม่ต้องการ
หัวหน้างานศึกษาและพัฒนาด้านปศุสัตว์ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานฯ เผยต่อว่า ความพยายามก็ไม่ได้หยุดลง แต่ได้นำ สายพันธุ์ ลาร์จไวท์ แลนเรซ เข้ามาผสมและพยายามให้พันธุ์ ดูร็อคเจอร์ซี่ มีเลือดอยู่ 62.5 ส่วนที่เหลือ 37.5 เป็น สายพันธุ์หมูกี้กับเหมยซาน กลายเป็นหมูรุ่น F4
... รุ่น F4 นี้จะได้ หมูออกมา 2 กลุ่ม คือ ภูพาน 1 กับ ภูพาน 2 ที่มีทั้ง สีดำ และ สีขาว...เมื่อ ต้องการให้เป็นสีอะไรก็สามารถที่จะผสมใหม่ตามความต้องการของชาวบ้านได้
...นอกจากนี้ ยังมีการส่งลูกพันธุ์หมูภูพานไปเลี้ยงทดสอบแล้วในหลายพื้นที่ เช่น ห้วยฮ่องไคร้ จังหวัดเชียงใหม่ จากนั้นส่งให้ ชาวกะเหรี่ยงเลี้ยงที่จังหวัดเลย และส่งไปให้ เกษตรกรชาวใต้ เลี้ยงที่ จังหวัดสงขลา ปรากฏว่าหมูภูพานสีดำเป็นที่ชื่นชอบกันมาก... ปัจจุบันได้จดสิทธิบัตรสุกรสายพันธุ์ใหม่นี้ ให้มีชื่อเป็นทางการว่า...สุกรสายพันธุ์ภูพาน
...หากเกษตรกรท่านใด สนใจอยากจะเลี้ยง “หมูภูพาน” ติดต่อขอข้อมูลและสายพันธุ์ได้ที่ น.สพ.วิศุทธิ์ เอื้อกิ่งเพชร โทร.08-1965-3468 ในวันและเวลาราชการ.

สายพันธุ์หมู

เรื่อง : เพาะพันธุ์สุกรประเภทเทคนิค : เทคนิคการปลูกและขยายพันธุ์สาขา : นครพนม สำนักงานจังหวัด : นครพนมชื่อ นายสงวน มาลาศรีชื่อคู่สมรส : สมริด จำนวนบุตร : 5 คนวันเกิด : พ.ค. 2488ที่อยู่ : 130 หมู่ 2 บ้านวังตาบัว ต. วังตาบัว อ. เมืองนครพนม จ. นครพนมรหัสไปรษณีย์ โทร การศึกษา : ประถมศึกษา
การอบรม/ประสบการณ์ : พ.ศ. 2541 อบรมเรื่องการเลี้ยงหมู-ไก่ ที่วิทยาลัยเกษตรกรรมนครพนม พ.ศ. 2542 เข้าร่วมโครงการเพื่อนช่วยเพื่อน ศึกษาดูงานการทำการเกษตรแบบผสมผสาน ที่ จ.มุกดาหารปีที่เข้าเป็นลูกค้า : 2523อาชีพที่ประสบความสำเร็จ : เพาะพันธุ์สุกรที่ตั้ง :ตำบล วังตาบัว อำเภอ เมืองนครพนม จังหวัด นครพนมช่วงเวลาที่ผลผลิตออกสู่ตลาด : ทุก 6 เดือนช่วงเวลาที่ใช้เทคนิคพิเศษ : การจัดการด้านการตลาด : ผลผลิตที่ได้ ทำการจำหน่าย - พื้นที่ของโครงการ โดยมีพ่อค้ามารับซื้อถึงโครงการ - ทำการติดต่อกับพ่อค้าท้องถิ่น เจ้าของเขียงหมูในตลาดเทศบาลขั้นตอนการผลิต : - หมู จะทำการเลี้ยงหมูแม่พันธุ์ดี จำนวน 5 ตัว และพ่อพันธุ์ดี ลูกหมูที่ผลิตได้จะทำการจำหน่ายบางส่วน และเลี้ยงเป็นหมูขุนไว้ชุดละประมาณ 30 ตัว - อาหารหมูที่ทำการเลี้ยง ได้จากโรงสีข้าวขนาดเล็กของตนเอง ใช้รำข้าว ข้าวปลาย ผสมกับหัวอาหารที่ซื้อจากบริษัทจำหน่ายทั่วไป ซึ่งสามารถลดต้นทุนค่าอาหารได้ประมาณ 50%ขั้นตอนการทำเทคนิคพิเศษ :จากการที่ได้รับการฝึกอบรมเรื่องการเลี้ยงหมูที่วิทยาลัยเกษตรและประสบการณ์เลี้ยงสัตว์ ทำให้รู้ถึงขั้นตอนการผลิตเป็นอย่างดีในเรื่อง 1. การตรวจท้อง ระยะเวลาท้อง ตลอดจนการทำคลอดลูกหมู 2. การคัดเลือกสายพันธุ์หมูแม่พันธุ์ 3. การผลิตปกติ อาการป่วยของหมูแผนการพัฒนาการผลิต : - ได้มีการคัดเลือกสายพันธุ์หมูที่มีลักษณะดี การแลกเนื้อ FCR ของหมูที่ดีมาเป็นพ่อ-แม่พันธุ์ - เลือกระยะเวลาการทำการผลิตให้ได้ผลผลิตในช่วงที่ตลาดมีความต้องการสูงสถานภาพทางสังคม : เป็นที่ยอมรับทั่วไปของชุมชน มีเกษตรกรจำนวนมากได้เข้าเยี่ยมเยียนฟาร์ม ขอคำปรึกษาเรื่องการเกษตรแบบผสมผสานบทบาทและการมีส่วนร่วมในสังคม : - เป็นคณะกรรมการหมู่บ้าน - เป็นวิทยากรเผยแพร่ความรู้เรื่องการเกษตรแก่เกษตรกรทั่วไปความเห็นเกี่ยวกับบทบาทหน้าที่ของธ.ก.ส. : - ธ.ก.ส. เป็นแหล่งเงินทุนทางการเกษตรที่ดีที่สุด - ธ.ก.ส. สามารถแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของเกษตรกรที่ขาดเงินทุนในการประกอบอาชีพการเกษตรได้เป็นอย่างดี

การให้อาหารหมู

สุกรเป็นสัตว์กระเพาะเดี่ยว ไม่สามารถย่อยอาหารที่มีเยื่อใยมากได้ดีเหมือนสัตว์กระเพาะรวม (โค กระบือ) ระบบการย่อยอาหารที่มีหน้าที่ย่อยอาหารที่สุกรกินเข้าไปให้แตกตัวจนมีขนาดเล็กลง เพื่อสามารถดูดซึมไปใช้เสริมสร้างส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย สุกรมีความต้องการโภชนะนั้น หมายถึง สารอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายประกอบด้วย 6 ชนิด น้ำ ให้น้ำสะอาดแก่สุกรตลอดเวลา ปกติสุกรจะกินน้ำประมาณ 5-20 ลิตรต่อวัน ตามขนาดของสุกร โปรตีน มีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตของสุกร ช่วยสร้างเนื้อเยื่อและเป็นส่วนประกอบหลักที่สำคัญของร่างกายสัตว์ โปรตีนประกอบด้วย กรดอะมิโนอยู่ประมาณ 30 ชนิด กรดอะมิโนที่จำเป็น 10 ชนิด ได้แก่ ไลซีน เมทไธโอนีน ทริพโตแฟน อาร์ยินิน ฮิสทิดีน ไอโซลูซีน ลูซีน อาลานีน ทรีโอนีน และวาลีน คาร์โบไฮเดรท เป็นอาหารที่ให้พลังงานที่เรียกง่าย ๆ ว่าอาหารแป้งและน้ำตาล รวมไปถึงเยื่อใยที่เป็นส่วนประกอบในวัตถุดิบอาหารสัตว์ ไขมัน เป็นอาหารที่ให้พลังงาน เช่น เดียวกับคาร์โบไฮเดรด แต่ให้พลังงาน แร่ธาตุ แร่ธาตุเป็นสิ่งจำเป็นมากที่สุด สำหรับการทำงานของร่างกาย มีหน้าที่เสริมสร้างกระดูก และต้านโรค ในร่างกายสุกรมีแร่ธาตุ มากกว่า 40 ชนิด ส่วนที่จำเป็นและสำคัญต่อร่างกาย ได้แก่ แคลเซียม ฟอสฟอรัส โซเดียม คลอรีน เหล็ก ทองแดง ไอโอดีน กำมะถัน สังกะสี แมงกานีส โคบอลท์ โปตัสเซียม แมกนีเซียม และซิลิเนียม ไวตามิน เป็นสารประกอบอินทรีย์ มีความจำเป็นต่อการเจริญเติบโตและการดำรงชีวิต ไวตามินมีมากถึง 50 ชนิด ส่วนที่จำเป็นในร่างกายสัตว์ ได้แก่ ไวตามิน เอ ดี อี บี 2 (ไรโบฟลาวิน) ไนอาซีน กรดแพนโทธินิค โคลีน ไบโอติน และบี 12 เป็นต้น
วัตถุดิบอาหารสัตว์
1.อาหารประเภทโปรตีน ได้มาจากพืชและสัตว์ มีรายละเอียด ดังนี้ อาหารโปรตีนที่ได้จากพืช ได้แก่ กากถั่วเหลือง เป็นอาหารโปรตีนจากพืชที่ดีที่สุด ได้มาจากถั่วเหลืองทีสกัดน้ำมันออก มีโปรตีนอยู่ระหว่าง 40-44 % ใช้เป็นอาหารสุกรในรูปของกากถั่วเหลืองอัดน้ำมัน (แผ่นเค็ก) โปรตีนจากกากถั่วเหลืองมีกรดอะมิโนที่จำเป็นสมดุลย์ เหมาะในการใช้เลี้ยงสุกรทุกระยะการเจริญเติบโตในเมล็ดถั่วเหลืองดิบไม่เหมาะแก่การนำมาใช้เลี้ยงไก่ และสุกร ทั้งนี้เพราะเมล็ดถั่วเหลืองดิบมีสารพิษชนิดที่เรียกว่า " ตัวยับยั้งทริปซิน" (Trypsin inhibitor) อยู่ด้วย สารพิษนี้จะมีผลไปขัดขวางการย่อยโปรตีนในทางเดินอาหารถั่วเหลืองที่เหมาะสำหรับใช้ผสมอาหารเลี้ยงสุกรนม อาหารครีพฟีด อาหารสุกรอ่อน อาหารสุกรเล็ก ได้แก่ ถั่วเหลืองอบไขมันสูง (ถั่วเหลืองซึ่งผ่านขบวนการอบให้สุก โดยไม่ได้สกัดน้ำมันออกมี โปรตีน 38 % ) ส่วนสุกรเล็กและสุกรขนาดอื่นทั่วไปนิยมใช้กากถั่วเหลืองสกัดน้ำมันด้วยสารเคมี กากถั่วลิสง เป็นผลิตผลพลอยได้จากการสกัดน้ำมันออก มีโปรตีนอยู่ประมาณ 40% กากใช้กาถั่วลิสงอย่างเดียวในอาหารจะทำให้สุกรเจริญเติบโตช้า เนื่องจากความไม่สมดุลย์ของกรดอะมิโน ดังนั้น จึงควรใช้กากถั่วลิสง ถ้ามีความชื้นสูงจะเสียเร็วเนื่องจากถั่วลิสงเป็นพืชที่มีน้ำมันมาก จึงเก็บไว้นานไม่ได้ จะเกิดอาการเหม็นหืนและมีราเกิดได้ง่าย ซึ่งราจะสร้างสารพิษ "อะฟลาท็อกซิน" ซึ่งเป็นอันตรายต่อสัตว์ ดังนั้นควรจะเลือกใช้แต่กากถั่วลิสงที่ใหม่ มีไขมันต่ำ และควรเก็บไว้ในที่ไม่ร้อนและชื้น กากเมล็ดฝ้าย เป็นผลผลิตพลอยได้จากการสกัดน้ำมันออกจากเมล็ดฝ้าย จะมีโปรตีนประมาณ 40-45 เปอร์เซ็นต์ การเมล็ดฝ้ายมีสารพิษที่มีชื่อว่า "ก๊อสซิปอล" ซึ่งเป็นสารที่ละลายในน้ำมัน จึงเป็นเหตุให้การใช้อยู่ในขีดจำกัดไม่ควรเกิน 10 % การใช้ในระดับสูงจะทำให้การเจริญเติบโตช้าลง นอกจากนี้การใช้กากเมล็ดฝ้ายควรจะเติมกรดอะมิโนไลซีนสังเคราะห์ลงไปด้วย กากมะพร้าว เป็นวัตถุพลอยได้จากโรงงานสกัดน้ำมันมะพร้าว ถ้าอัดน้ำมันออกใหม่ ๆ จะมีกลิ่นหอมน่ากิน มีโปรตีนประมาณ 20% ถ้าใช้กากมะพร้าวในระดับสูงเลี้ยงสุกรระยะการเจริญเติบโตและขุน จะทำให้การเจริญเติบโตของสุกรช้า ดังนั้นควรจะใช้ในระดับ 10-15 % กากเมล็ดนุ่น เมื่อสกัดน้ำมันออกแล้วจะมีโปรตีนประมาณ 20% เหมาะที่จะใช้เลี้ยงสุกรรุ่นมากกว่าสุกรระยะอื่น ในปริมาณไม่เกิน 15% กากเมล็ดนุ่นจะทำให้ไขมันจับแข็งตามอวัยวะภายในร่างกายต่าง ๆ เช่น ลำไส้ เป็นต้น 1.2 อาหารโปรตีนที่ได้จากสัตว์ ได้แก่ ปลาป่น เป็นอาหารโปรตีนที่ได้จากสัตว์ที่ดีที่สุด มีโปรตีนอยู่ระหว่าง 50-60 % คุณภาพของปลาป่นขึ้นอยู่กับชนิดของปลาที่ใช้ทำปลาป่น และสิ่งอื่นปะปนมากน้อยแค่ไหน รวมทั้งกรรมวิธีการผลิตปลาป่น เช่น ถ้าให้ความร้อนสูง ทำให้คุณค่าทางอาหารต่ำลง ปริมาณกรดอะมิโนในปลาป่นจะต่ำลงเรื่อย ๆ ปลาป่นมีคุณค่าทางอาหารสุงและใช้เลี้ยงสุกรตลอดระยะถึงส่งตลอดระยะถึงส่งตลาดจะทำให้เนื้อมีกลิ่นคาวจัด ดังนั้นจึงควรใช้ในระหว่าง 3-15 % เลือดแห้ง ได้จากโรงฆ่าสัตว์ มีโปรตีนค่อนข้างสูง 80% เป็นโปรตีนที่ย่อยยาก ทำให้การเจริญเติบโตของสุกรต่ำลง ควรใช้ร่วมกับอาหารโปรตีนชนิดอื่น ๆ ไม่ควรเกิน 5% หางนมผง มีโปรตีนปริมาณ 30-40 % และเป็นโปรตีนที่ย่อยง่ายแต่มีราคาแพง จึงนิยมใช้กับอาหารลูกสุกรเท่านั้น ขนไก่ป่น เป็นอาหารที่ได้จากผลิตผลพลอยได้จากโรงงานฆ่าไก่ มีโปรตีนค่อนข้างสูงถึง 85% แต่มีคุณค่าทางอาหารเพียงเล็กน้อย เนื่องจากเป็นโปรตีนที่ไม่สามารถย่อยได้ 2. อาหารประเภทคาร์โบไฮเดรท(แป้งและน้ำตาลให้พลังงาน) ปลายข้าว ปลายข้าวและรำละเอียดเป็นผลิตผลพลอยได้จากการสีข้าว ปลายข้าวมีโปรตีน 8% เป็นวัตถุดิบอาหารที่เหมาะในการเลี้ยงสัตว์ ทั้งนี้ปลายข้าวประกอบไปด้วยแป้งที่ย่อยง่ายเป็นส่วนใหญ่ มีไขมันและเยื่อใยระดับด่ำ (1.0 %) เก็บไว้ได้นาน ตรวจสอบการปลอมปนได้ง่าย ปลายข้าวที่ใช้เลี้ยงสุกร ควรเป็นปลายข้าวเม็ดเล็กปลายข้าวที่มีขนาดใหญ่ควรจะต้องบดให้มีขนาดเล็กลงก่อน แล้วจึงค่อยผสมอาหาร นอกจากนี้ยังมีปลายข้าวนึ่ง (ข้าวเปลือกที่เปียกน้ำ หรือมีความชื้นสูง นำมาอบเอาความชื้นออก สีเอาเปลือกออก ปลายข้าวนึ่งมีสีเหลืองอ่อนหรือสีขาวปนเหลือง) นำมาเลี้ยงสุกรทดแทนปลายข้าวได้ แต่ต้องพิจารณาเรื่องคุณภาพด้วย เช่น การปนของเมล็ดข้าวสีดำ ซึ่งเมล็ดข้าวสีดำมีคุณภาพไม่ดี รำละเอียด มีโปรตีนประมาณ 12% รำละเอียดมีไขมันเป็นส่วนประกอบอยู่ในระดับค่อนข้างสูง และเป็นไขมันที่หืนได้ง่ายในสภาวะที่อากาศร้อน หากเก็บไว้เกิน 60 วัน ไม่เหมาะที่จะนำมาใช้เลี้ยงสัตว์ รำละเอียดมักจะมีการปลอมปนด้วยแกลบป่น ละอองข้าวหรือดินขาวป่น ทำให้คุณค่าทางอาหารต่ำลง ถ้าเป็นรำข้าวนาปรังควรระวังเรื่องยาฆ่าแมลงที่ปะปนมาในระดับสูง รำสกัดน้ำมันได้จากการนำเอารำละเอียดไปสกัดเอาไขมันออกใช้ทดแทนรำละเอียดได้ดีแต่ต้องระวังเรื่องระดับพลังงาน เพราะรำสกัดน้ำมันมีค่าพลังงานใช้ประโยชน์ได้ต่ำกว่ารำละเอียด รำละเอียดมีเยื่อใยเป็นส่วนประกอบในระดับสูง จึงมีลักษณะฟ่าม ไม่ควรใช้เกิน 30% ในสูตรอาหารรำละเอียดมีคุณสมบัติเป็นยาระบาย โดยเฉพาะสูตรอาหารแม่สุกรอุ้มท้องและเลี้ยงลูก จะช่วยลดปัญหาแม่สุกรท้องผูก ข้าวโพด มีโปรตีนประมาณ 8% และมีเยื่อใยอยู่ในระดับต่ำ เป็นวัตถุดิบอาหารที่เหมาะในการผสมเป็นอาหารสุกร ข้าวโพดที่ดีควรเป็นข้าวโพดที่บดอย่างละเอียด ไม่มีมอดกิน ไม่มีสิ่งปลอมปน และที่สำคัญที่สุดจะต้องไม่ขึ้นรา (สารพิษอะฟลาท็อกซิน) และไม่มียาฆ่าแมลงปลอมปน ข้าวโพดสามารถใช้ทดแทนปลายข้าวได้ ข้อเสียในการใช้ข้าวโพดคือ มีเชื้อราและยาฆ่าแมลง เนื่องจากการเก็บเกี่ยว และการเก็บรักษาไม่ดีพอ ข้าวฟ่าง มีโปรตีนประมาณ 11% ข้าวฟ่างโดยทั่วไปจะมีสารแทนนิน ซึ่งมีรสฝาดอยู่ในระดับสูง สารแทนนินมีผลทำให้การย่อยได้ของโปรตีนและพลังงานลดลง ดังนั้นจึงเป็นข้อจำกัดในการใช้ข้าวฟ่าง มันสำปะหลัง ใช้เลี้ยงสัตว์ในรูปมันสำปะหลังตากแห้งที่เรียกว่า มันเส้น มีโปรตีนประมาณ 2% มีแป้งมาก มีเยื่อใยประมาณ 4% ข้อเสียของการใช้มันเส้น คือ จะมีลำต้น เหง้า และดินทรายปนมาด้วย ดังนั้นจึงควรเลือกใช้มันเส้นที่มีคุณภาพดี เกรดใช้เลี้ยงสุกร ส่วนหัวมันสำปะหลังสดไม่ควรนำมาใช้เป็นอาหารสัตว์ เพราะมีการพิษกรดไฮโดรไซยานิคในระดับสูงมาก และเป็นอันตรายต่อสัตว์ได้ วิธีการลดสารพิษทำได้ 2 วิธี คือ
ก. ทำเป็นมันเส้น โดยหั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ ผึ่งแดดอย่างน้อย 3 แดด มันเส้นที่มีคุณภาพดี สามารถใช้ทดแทนปลายข้าวได้ ในกรณีปลายข้าวราคาแพง และมันเส้นราคาถูก (ปลายข้าว 1 กิโลกรัม เท่ากับมันเส้น 0.85 กิโลกรัม + กากถั่วเหลือง 0.15 กิโลกรัม) ข. ทำเป็นมันหมัก หมักในหลุม หรือถุงพลาสติก ควรหมักอย่างน้อย 1 เดือน ซึ่งจะลดปริมาณสารพิษกรดไฮโดรไซยานิคให้อยู่ในระดับที่ไม่เป็นอันตรายต่อสุกร
3. อาหารประเภทไขมัน ไขมันจากสัตว์ ได้แก่ ไขมันวัว ไขมันสุกร ส่วนไขมันจากพืช ได้แก่ น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันปาล์ม น้ำมันรำ เป็นต้น สาเหตุที่ต้องใช้ไขมันในสูตรอาหาร เพื่อเพิ่มระดับพลังงานในสูตรอาหารนั้นให้สูงขึ้น ส่วนใหญ่ใช้ในอาหารสุกรเล็ก โดยเติม 2-5 % ในอาหาร ข้อเสียของไขมันมักจะมีกลิ่นหืน และเก็บไว้ได้ไม่นาน 4. อาหารประเภทแร่ธาตุ และไวตามิน กระดูกป่น เป็นแหล่งของธาตุแคลเซี่ยมและฟอสฟอรัสที่ดีมาก แต่มีคุณภาพไม่แน่นอน ไดแคลเซียมฟอสเฟส ให้ธาตุแคลเซียมและฟอสฟอรัสทำมาจากกระดูก หรือทำจากหิน โดยนำเอาหินฟอสเฟตมาเผา ปกติจะใช้ไดแคลเซียมฟอสเฟตที่มีฟอสฟอรัส 18% (P18) หรือสูงกว่า เปลือกหอยบด ให้ธาตุแคลเซียมอย่างเดียว หัวไวตามินแร่ธาตุ หรือพรีมิกซ์ เป็นส่วนผสมของไวตามินและแร่ธาตุปลีกย่อยทุกชนิดที่สุกรต้องการ และพร้อมที่จะนำมาผสมกับวัตถุดิบ อาหารสัตว์อย่างอื่นได้ทันที พรีมิกซ์มีขายตามท้องตลาดทั่วไป

วันพุธที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551

การเลี้ยงสุกร

ปัจจุบันการเลี้ยงสุกรในประเทศไทยได้มีการพัฒนาการด้านพันธุ์อาหารสัตว์ การจัดการและการสุขาภิบาล จนทัดเทียมกับต่างประเทศ การเลี้ยงสุกรภายในประเทศ แม้จะมีฟาร์มใหญ่ ๆ แต่ก็ยังมีเกษตรกรรายย่อยที่ทำการเลี้ยงสุกรรายละ 1-20 ตัว ตามหมู่บ้านอยู่เป็นจำนวนมาก เกตรกรรายย่อยดังกล่าวจำเป็นจะต้องได้รับความรู้ในด้านการเลี้ยงสุกรอย่างถูกต้อง เพื่อจะได้นำไปพัฒนาการเลี้ยงสุกรอย่างถูกต้อง เพื่อจะได้นำไปพัฒนาการเลี้ยงสุกรของตนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งจะทำรายได้ให้กับครอบครัว และยังจะได้ประโยชน์ในการใช้ทรัพยากรให้ได้ผลดีด้วย
ปัจจัยที่จะทำให้การเลี้ยงสุกรประสบความสำเร็จประกอบด้วย
สุกรพันธุ์ดี
อาหารดี
โรงเรือนดี
การจัดการเลี้ยงดูดี
การป้องกันโรคดี
เหตุผลในการเลี้ยงสุกร
สุกรสามารถเลี้ยงได้ในจำนวนน้อย เป็นฟาร์มเล็ก ๆ
ในการเลี้ยงสุกรต้องการพื้นที่เพียงเล็กน้อย
การเลี้ยงสุกรใช้แรงงานน้อย เลี้ยงง่าย
ใช้เศษอาหารและของเหลือต่าง ๆ เป็นอาหารสุกรได้
มูลสุกรใช้เป็นปุ๋ยอย่างดี และใช้กับบ่อเลี้ยงปลา เพื่อเพิ่มผลผลิตของการเลี้ยงปลา
สุกรให้ลูกดก ขยายพันธุ์ได้เร็ว
การเลี้ยงสุกรเป็นกิจการที่ให้ผลกำไรดี สามารถคืนทุนได้ภายในเวลา 6 เดือน
การเลี้ยงหมู. การเลี้ยงหมูป่า. การเลี้ยงหมูหลุม. การเลี้ยงเป็ด. การเลี้ยงแพะ. การเลี้ยงโค. การเลี้ยงโคนม. การเลี้ยงโคเนื้อ. การเลี้ยงไก่. การเลี้ยงไก่พื้นเมือง. การเลี้ยงไก่ไข่. การเลือกซื้อกล้อง. การเลือกซื้อกล้องดิจิตอล 29 ต.ค. 2008 โดย kru_chao อธิบายหลักและวิธีการเลี้ยงหมูได้ 10.บอกขั้นตอนการเลี้ยงหมูได้ 11.ปฏิบัติการเลี้ยงหมูได้ตามที่กำหนด 12.อธิบายหลักประเภทของตลาดสินค้าเกษตรได้ 13. อธิบายหน้าที่ของคนกลางในตลาดระดับต่างๆได้ 14.ตระหนักถึงความสำคัญของการประกอบอาชีพ
18 พ.ย. 2008 โดย ... จะมีการปลูกทยอยกันไปตลอดปีเพื่อการบริโภคของตนเอง และแลกเปลี่ยนกับครัวเรือนอื่นๆ ในการปลูกพืชผักสวนครัว รั้วกินได้ ทำให้มีอาหารธรรมชาติสมบูรณ์ สำหรับกิจกรรมที่เป็นงานของกลุ่มในชุมชน ก็มีการเลี้ยงหมูหลุมชีวภาพ ทำปุ๋ยอินทรีย์จำหน่าย ...1 พ.ย. 2008 โดย ที่จะอยู่รอดได้ตามหลักเศรษฐศาสตร์ คือคนที่สร้างมูลค่าเพิ่มในระบบเท่านั้น เช่น คนเลี้ยงหมูสร้างมูลค่าเพิ่มในระบบด้วยการเลี้ยงหมูให้โตแล้วเอาไปขายที่โรงฆ่าสัตว์ โรงฆ่าสัตว์ก็สร้างมูลค่าเพิ่มให้ระบบด้วยการเอาหมูไปฆ่าแล้วถอนขน ...สรรพคุณมากมายจากการไม่ทานเนื้อสัตว์เบื้องหลังฟาร์มเลี้ยงหมู !!! • เบื้องหลังฟาร์มเลี้ยงวัว !!! • เบื้องหลังฟาร์มเลี้ยงไก่ !!! • หยุด ! มองทัศนะของคนกินเจ • รวมเมนูเจจานเด็ด .. เซนต์แมรี เขาเข้าร่วมกับองค์กร พีซคอร์ป เป็นอาสาสมัครพัฒนาชนบททั่วโลก เพื่อส่งเสริมการเกษตร อย่าง เลี้ยงหมู ไก่ เมื่อตัดสินใจมาเมืองไทย ต้องเรียนภาษาไทย 3 เดือน เขาบินมาเมืองไทยเมื่อปี 2522 ตอนอายุได้ 24 ปี ...-valentine ... ชาวบ้านที่เลี้ยงหมูได้ฉีดวัคซีนแก้ปากเปื่อยเท้าเปื่อยที่คอหมูทุกตัว โดยไม่มีการเปลี่ยนเข็ม ซึ่งตรงนี้ทำให้หมูติดเชื้อโรคที่มาจากเข็มฉีดยาได้ง่าย หมูบางตัวติดเชื้อจนคอเป็นหนอง ซึ่งหากใครกินเนื้อหมูที่ติดเชื้อเข้าไปก็อาจเป็นอันตราย 19 ต.ค. 2008 โดย การเลี้ยงปลาอะโรวาน่า เราควรศึกษาให้ดีก่อน ก่อนทำการเลี้ยง ปลาชนิดนี้เราสามารถเลี้ยงได้ทั้งในตู้กระจกหรือในบ่อ โดยทั่วไปแล้วเรานิยมเลี้ยงในตู้กระจกเพื่อความสวยงาม ปลาชนิดนี้ไม่นิยมเลี้ยงในตู้เดียวกันหลายตัว เพราะทำให้ปลากัดกันเอง ...21 ก.ย. 2008 โดย chalearnchit สถานภาพ สมรสกับนางแสนคำนึง ธีระตระกูล มีธิดา 4 คน. ที่อยู่ 341 หมู่ 3 ตำบลดอนยายหอม อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม โทร.0-9918-8599. ความคิดริเริ่มและความพยายามฟันฝ่าอุปสรรค. นายปัญชา ปัญญาวานิชกุล มีนิสัยรักการเลี้ยงไก่พื้นเมือง